สาระน่ารู้
แผ่นกระดาษลูกฟูก
ประกอบด้วย 2 ส่วนประกอบหลัก คือ
Linerboard :
กระดาษแผ่นเรียบชั้นนอกของกระดาษลูกฟูก
Corrugating Medium :
กระดาษทำลอนลูกฟูกที่มีลักษณะโค้งอยู่ระหว่างกระดาษแผ่นเรียบ
ความแข็งแรงของกระดาษทั้งสองชนิดนี้จะมีผลต่อความแข็งแรงของแผ่นกระดาษลูกฟูก
กระดาษ Linerboard หรือกระดาษแผ่นเรียบ
KA
- สีเหลืองทอง
- มีความแข็งแกร่งสูงสุด สามารถรับแรงกระแทกและการเรียงซ้อนได้ดีเยี่ยม ทนความชื้นได้ดี เหมาะสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่มีมูลค่า หรือมีน้ำหนักมาก และต้องการความแข็งแรงสูง
KI
- สีน้ำตาลอ่อน
- ผิวกระดาษมีสีอ่อนสว่างตามธรรมชาติ มีความแข็งแกร่ง รับแรงกระแทกและการเรียงซ้อนได้ดีเหมาะสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่มีภาพพิมพ์สีสันต่างๆ
KP
- สีน้ำตาล
- โทนสีใกล้เคียงกับสีกระดาษที่นิยมในแถมอเมริกา หรือกล่องสินค้าที่ส่งไปขายแถบนั้นกระดาษมีความแข็งแกร่งสูง สามารถรับแรงกระแทกและการเรียงซ้อนได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าเพื่อการส่งออก หรือสินค้าที่มีน้ำหนักมาก
KH
- สีน้ำตาลอมเหลือง
- มีผิวเรียบสะอาด มีความแข็งแกร่งสูงมาก สามารถรับแรงกระแทกและการเรียงซ้อนได้ดีเยี่ยมเหมาะสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้าอิเล็คทรอนิคส์ และสินค้าส่งออก
KT
- สีน้ำตาล
- ผลิตจากเยื่อรีไซเคิลทั้งหมด สามารถรองรับการเรียงซ้อนได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้าที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
KS
- สีขาว
- กระดาษทำผิวกล่องพรีเมี่ยม เกรดสีขาว ผิวกระดาษทำจากเยื่อบริสุทธิ์ฟอกขาวคุณภาพสูง เพื่อความสะอาดและความแข็งแกร่งสูงสุด สามารถรับแรงกระแทกและการเรียงซ้อนได้ดีเยี่ยม รวมทัง้สามารถทนความชื้นได้ดี เหมาะสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าต้องการภาพลักษณ์ของความสะอาด เช่น อาหารแช่แข็ง อุปกรณ์การแพทย์ หรือสินค้าส่งออก หรือสำหรับภาพพิมพ์สีสันต่างๆ
กระดาษ Corrugating Medium หรือกระดาษลอนลูกฟูก
CA
- ความแข็งแกร่งสูง
ติดกาวลูกฟูกได้ดี
โดยทั่วไปแล้วลอนลูกฟูกที่มีขนาดใหญ่กว่าจะมีความแข็งแรงสูงกว่า และสามารถรองรับแรงกระแทกได้มากกว่า ในขณะที่ลอนลูกฟูกขนาดเล็กกว่าจะเหมาะกับงานพิมพ์สวยงามมากกว่า และสามารถพับขึ้นรูปได้ดีกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้
ชนิด | ความสูง ของลอน (มิลลิเมตร) |
จำนวนลอน/ฟุต | คุณสมบัติ |
---|---|---|---|
ลอน A | 4.0 ‐ 4.8 | 36 | เหมาะกับสินค้าที่ต้องการรับน้ำหนักการเรียงซ้อนมากและไม่เน้นการพิมพ์ |
ลอน B | 2.1 ‐ 3.0 | 49 | เหมาะกับสินค้าที่รับน้ำหนักได้ด้วยตัวมันเอง เช่น กระป๋องเหล็ก |
ลอน C | 3.2 – 3.9 | 41 | เป็นที่นิยมใช้กันมาก เหมาะกับสินค้าทั่วๆ ไปที่รับนน้ำหนักได้ปานกลาง |
ลอน E | 1.0 – 1.8 | 95 | รองรับการพิมพ์ได้ดีที่สุด เหมาะกับกล่องไดคัทขนาดเล็กหรือกล่องออฟเซ็ท |
คุณสมบัติ | ลอน B | ลอน C | ลอน E |
---|---|---|---|
• การเรียงซ้อน | พอใช้ | ดี | แย่ |
• คุณภาพการพิมพ์ | ดี | พอใช้ | ดีมาก |
• คุณภาพการตัดและอัด | ดี | พอใช้ | ดีมาก |
• ความต้านทานต่อการทิ่มทะลุ | พอใช้ | ดีมาก | แย่ |
• การเก็บคงคลัง | พอใช้ | พอใช้ | แย่ |
• การทับเส้น/การทับพับ | ดี | พอใช้ | ดีมาก |
• การป้องกันการสั่นและการกระแทก | พอใช้ | ดี | แย่ |
• การดันทะลุ | ดี | พอใช้ | พอใช้ |
กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น (Single Face)
- กระดาษลอนลูกฟูกประกบกับกระดาษแผ่นเรียบ สามารถมองเห็นลอนได้ด้านนอกนิยมใช้สำหรับกันกระแทกสินค้า
- ลอนมาตรฐาน B, C, E
กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น (Single Wall)
- กระดาษลอนลูกฟูกถูกประกบด้วยกระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น มักใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง
- ลอนมาตรฐาน B, C, E
กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น (Double Wall)
- กระดาษลอนลูกฟูก 2 แผ่น ถูกประกบด้วยกระดาษแผ่นเรียบ 3 แผ่น มักใช้กับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูงหรือมีน้ำหนักมาก
- ลอนมาตรฐาน BC
น้ำหนักมาตรฐาน
(Basic Weight)
- น้ำหนักรวมของแผ่นกระดาษลูกฟูก มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงและคุณภาพกระดาษ
- หน่วย: กรัมต่อพื้นที่กระดาษ 1 ตารางเมตร (g/m2)
ความต้านทานแรงกด
(Ring Crush Resistance)
- ความสามารถของกระดาษความยาวคงที่นำมาโค้งงอเป็นวงแหวน เพื่อที่จะต้านแรงกดในแนวระนาบเดียวกับกระดาษจนขอบกระดาษหักพับค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับความต้านแรงกด หรือความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษ
- หน่วย : นิวตัน (N) หรือ กิโลกรัมแรง (kgf)
ความต้านทานแรงกดลอนลูกฟูก
(Concora Crush)
- ความสามารถของกระดาษที่จะต้านทานแรงกดบนลอนลูกฟูกจนลอนลูกฟูกยุบตัวจนแบนราบ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความต้านทานแรงกดลอนลูกฟูกของแผ่นลูกฟูก (Flat Crush)
- หน่วย: กิโลกรัมแรง (kgf)
ความต้านทานแรงกดในแนวตั้ง
(Edge wise Crush Resistance)
- ความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูกรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่จะต้านแรงกดเมื่อกระทำในทิศทางเดียวกับแนวตั้งของลูกฟูกจนกระทั่งแผ่นลูกฟูกหักหรือยุบตัวลง บอกถึงความแข็งแรงของกระดาษลูกฟูกโดยมีความสัมพันธ์กับการเรียงซ้อนหรือค่ารับแรงกดกล่องนั่นเอง
- หน่วย: กิโลนิวตันต่อเมตร (kN/m)
ความต้านทานแรงกดในแนวนอน
(Flat Crush Resistance)
- ความสามารถของลูกฟูกในแผ่นกระดาษลูกฟูก ที่จะต้านแรงกดบนลอนลูกฟูกในแนวราบจนลอนเสียรูป มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการป้องกันการกระแทก
- หน่วย: กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร (kgf/cm2) หรือเป็นกิโลปาสคาล (kPa)
ความต้านทานแรงดันทะลุ
(Bursting Strength)
- ความสามารถของกระดาษที่จะต้านแรงดันที่กระทำบนแผ่นทดสอบด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้น อย่างสม่ำเสมอ จนทำให้แผ่นทดสอบนั้นขาดภายใต้สภาวะที่กำหนด มีความสัมพันธ์กับความเหนียวหรือคุณภาพของกระดาษ
- หน่วย: กิโลปาสคาล (kpa) หรือกิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร (kgf/cm2)
ความต้านแรงทิ่มทะลุ
(Puncture Resistance)
- ความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูกที่จะต้านแรงทิ่มทะลุมีความสัมพันธ์กับความเหนียว หรือคุณภาพของกระดาษ
- หน่วย: เป็นจูล (J)
การดูดซึมน้ำ
(Cobb Test)
- ความสามารถในการดูดซึมน้ำของกระดาษภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรวมถึงการดูดซึมของของเหลวอื่นๆ เช่น กาว หมึกพิมพ์ เป็นต้น และมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกระดาษ
- หน่วย: กรัมต่อตารางเมตร (g/m 2 )
ความต้านทานแรงกดของกล่องกระดาษลูกฟูก
(Compression Strength)
- ความสามารถของกล่องกระดาษลูกฟูกในการต้านแรงกดที่กระทำบนกล่องจนกล่องนั้นเสียรูป มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล่องกระดาษลูกฟูกเมื่อเรียงซ้อน
- หน่วย : นิวตัน (N) หรือกิโลกรัมแรง (kgf)
ปริมาณความชื้นของกระดาษ
(Moisture Content)
- น้ำหนักของน้ำในกระดาษหรือแผ่นกระดาษลูกฟูก มีความผลต่อความแข็งแรงของกล่องกระดาษลูกฟูกและควรมีปริมาณความชื้น < 10%